Eurax

ศูนย์รวมความรู้ด้านอีคอมเมิร์ซ e-Commerce บอกเล่าเรื่องราวการทำอีคอมเมิร์ซ และการรวบรวมความรู้ ตัวอย่าง ของเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่ประสบความสำเร็จ ความรู้ สารพัดสารพัน เรื่องการค้าออนไลน์ เริ่มต้นตั้งแต่ศูนย์ สำหรับผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ ขอเพียงตั้งใจจริง ทุกสิ่งก็สำเร็จได้อย่างงดงาม

ข้อควรรู้การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

กองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการส่งเสริมและสนับสนุนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มและขยายช่องทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการ จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยยังไม่เป็น ที่แพร่หลายมากนัก สาเหตุหนึ่งเกิดจากการขาดความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบการ ทำให้ผู้บริโภคขาดความมั่นใจ เพราะไม่สามารถรู้หรือทราบได้ว่าผู้ประกอบการเป็นใคร อยู่ที่ไหน กรณีมีปัญหาหรือข้อพิพาทต่าง ๆ ไม่สามารถตรวจสอบการมีตัวตนของผู้ประกอบการได้


ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ความเชื่อถือและเชื่อมั่นดังกล่าว ถือเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การที่จะช่วยกระตุ้นให้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้รับความแพร่หลายในประเทศไทย เกิดการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น จะต้องมีการสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในการตัดสินใจทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ดังนั้น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงได้กำหนดให้ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในประเทศไทยต้องมาจดทะเบียนพาณิชย์ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบการมีตัวตนของผู้ประกอบการได้ว่า ผู้ประกอบการมีตัวตนจริงหรือไม่ เป็นใคร อยู่ที่ไหน ทำธุรกรรมอะไรบ้าง



ประโยชน์ของการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

1. สร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการในระดับหนึ่ง โดยกรมฯ จะจัดทำเลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (เครื่องหมาย Registered) จัดส่งให้แก่ผู้ประกอบการ (ส่งทางe-Mail ในรูปแบบ Source Code) เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปแสดงไว้บน Web Site หรือ Home Page เพื่อแสดงว่าได้จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว
เมื่อผู้บริโภค (ผู้ซื้อ) เห็นเครื่องหมาย Registered แล้ว จะเกิดความมั่นใจในการทำธุรกรรมเพิ่มมากขึ้นโดยเมื่อ click ที่เลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบจะเชื่อมโยงมายังฐานข้อมูลกรมฯ และแสดงข้อมูลทางทะเบียนของผู้ประกอบการเพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบสถานะและการมีตัวตนของผู้ประกอบการได้

2. กรมฯ จะนำรายชื่อเว็บไซต์ที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว ไปเผยแพร่ไว้บนเว็บไซต์ของกรมฯ ได้โฆษณาไปในตัว http://www.dbd.go.th/edirectory/ โดยจัดแบ่งหมวดหมู่แยกตามประเภทธุรกิจ (e-Directory) เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ของผู้ประกอบการอีกช่องทางหนึ่ง

3. ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่จดทะเบียนแล้ว สามารถยื่นขอใช้เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ (Trustmark) จากกรมฯ ได้ ซึ่ง เครื่องหมาย Trustmark นี้จะมีความน่าเชื่อถือสูงกว่าเครื่องหมาย Registered กล่าวคือ จะออกให้แก่เว็บไซต์ที่มีคุณสมบัติตามที่กรมฯ กำหนดเท่านั้น เพื่อเป็นการยกระดับผู้ประกอบการของไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ

4. การได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ เช่น การเข้าร่วมการอบรมสัมมนา การได้รับคำแนะนำ และการได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น




ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
คือ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งประกอบพาณิชยกิจในเชิงพาณิชย์อันเป็นอาชีพปกติ ดังนี้

(1) ซื้อขายสินค้าหรือบริการ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่ บุคคลที่มีเว็บไซต์เพื่อทำการซื้อขายสินค้าหรือบริการ

(2) บริการอินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider)

(3) ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting)

(4) บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Marketplace)





เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการจดทะเบียน

1. คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ และเอกสารแนบ สามารถ download แบบฟอร์มได้ที่
http://www.dbd.go.th/mainsite/index.php?id=733&L=1%27
http://www.dbd.go.th/mainsite/fileadmin/downloads/01_tp/form_tp.pdf

2. สำเนาบัตรประจำตัว
2.1 กรณีบุคคลธรรมดา ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
2.2 กรณีนิติบุคคล ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวผู้จัดการของห้างหุ้นส่วน หรือ
ของกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด (ไม่ต้องแนบหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล)

3. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

4. หนังสือชี้แจง (กรณียื่นล่าช้าหรือเกินกำหนด)






ค่าธรรมเนียม

จดทะเบียนพาณิชย์ (จดใหม่) 50 บาท
จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการ 20 บาท
จดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจ 20 บาท






สถานที่จดทะเบียน

(1) ผู้ประกอบการที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่นคำขอจดทะเบียนได้ ณ สำนักงานดังต่อไปนี้
โดยจะเลือกยื่นต่อสำนักงานใด ก็ได้

ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง (ชั้น 9 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ถ.สนามบินน้ำ) โทร. 0 2547 5153-5

สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1 อาคารธนาลงกรณ์ ทาวเวอร์ ชั้น 14 ถนนบรมราชชนนี แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กทม. 10700 โทร. 0 2446 8160-68
FAX. 0 2446 8169,0 2446 8191

สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 2 อาคารเลขที่ 78/13 ถนนพระราม 6 (สี่แยกประดิพัทธ์) เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0 2618 3340-41,45 FAX. 0 2618 3343-4

สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 3 อาคารปรีชาคอมเพล็ก(ซี 2) ชั้น 3 ถ.รัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 (เยื้อง สน.สุทธิสาร) โทร. 0 2276 7259-64 FAX. 0 2276 7263

สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 4 อาคารวรวิทย์ ชั้น 8 โซน A-B เลขที่ 222 ถ.สุรวงศ์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทร. 0 2234 2951-3 FAX. 0 2266 5852-3

สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 5 อาคารปรีชาคอมเพล็ก (ซี 2) ชั้น 4 ถ.รัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 (เยื้อง สน.สุทธิสาร) โทร. 0 2276 7255-7 FAX. 0 2276 7258,68

สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 6 อาคารโมเดอร์นฟอร์ม ชั้น 16 ถนนศรีนครินทร์ เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 โทร.0 2722 8366-7 FAX. 0 2722 8369

สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 7 (ถ.แจ้งวัฒนะ) โทร. 0 2


(2) ผู้ประกอบการที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่จังหวัดอื่น นอกจากกรุงเทพมหานคร ไม่ว่าจะตั้งอยู่อำเภอใด ให้ยื่นต่อสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนั้น ๆ เพียงแห่งเดียว



...