Eurax

ศูนย์รวมความรู้ด้านอีคอมเมิร์ซ e-Commerce บอกเล่าเรื่องราวการทำอีคอมเมิร์ซ และการรวบรวมความรู้ ตัวอย่าง ของเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่ประสบความสำเร็จ ความรู้ สารพัดสารพัน เรื่องการค้าออนไลน์ เริ่มต้นตั้งแต่ศูนย์ สำหรับผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ ขอเพียงตั้งใจจริง ทุกสิ่งก็สำเร็จได้อย่างงดงาม

ข้อควรรู้การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

กองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการส่งเสริมและสนับสนุนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มและขยายช่องทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการ จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยยังไม่เป็น ที่แพร่หลายมากนัก สาเหตุหนึ่งเกิดจากการขาดความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบการ ทำให้ผู้บริโภคขาดความมั่นใจ เพราะไม่สามารถรู้หรือทราบได้ว่าผู้ประกอบการเป็นใคร อยู่ที่ไหน กรณีมีปัญหาหรือข้อพิพาทต่าง ๆ ไม่สามารถตรวจสอบการมีตัวตนของผู้ประกอบการได้


ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ความเชื่อถือและเชื่อมั่นดังกล่าว ถือเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การที่จะช่วยกระตุ้นให้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้รับความแพร่หลายในประเทศไทย เกิดการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น จะต้องมีการสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในการตัดสินใจทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ดังนั้น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงได้กำหนดให้ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในประเทศไทยต้องมาจดทะเบียนพาณิชย์ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบการมีตัวตนของผู้ประกอบการได้ว่า ผู้ประกอบการมีตัวตนจริงหรือไม่ เป็นใคร อยู่ที่ไหน ทำธุรกรรมอะไรบ้าง



ประโยชน์ของการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

1. สร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการในระดับหนึ่ง โดยกรมฯ จะจัดทำเลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (เครื่องหมาย Registered) จัดส่งให้แก่ผู้ประกอบการ (ส่งทางe-Mail ในรูปแบบ Source Code) เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปแสดงไว้บน Web Site หรือ Home Page เพื่อแสดงว่าได้จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว
เมื่อผู้บริโภค (ผู้ซื้อ) เห็นเครื่องหมาย Registered แล้ว จะเกิดความมั่นใจในการทำธุรกรรมเพิ่มมากขึ้นโดยเมื่อ click ที่เลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบจะเชื่อมโยงมายังฐานข้อมูลกรมฯ และแสดงข้อมูลทางทะเบียนของผู้ประกอบการเพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบสถานะและการมีตัวตนของผู้ประกอบการได้

2. กรมฯ จะนำรายชื่อเว็บไซต์ที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว ไปเผยแพร่ไว้บนเว็บไซต์ของกรมฯ ได้โฆษณาไปในตัว http://www.dbd.go.th/edirectory/ โดยจัดแบ่งหมวดหมู่แยกตามประเภทธุรกิจ (e-Directory) เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ของผู้ประกอบการอีกช่องทางหนึ่ง

3. ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่จดทะเบียนแล้ว สามารถยื่นขอใช้เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ (Trustmark) จากกรมฯ ได้ ซึ่ง เครื่องหมาย Trustmark นี้จะมีความน่าเชื่อถือสูงกว่าเครื่องหมาย Registered กล่าวคือ จะออกให้แก่เว็บไซต์ที่มีคุณสมบัติตามที่กรมฯ กำหนดเท่านั้น เพื่อเป็นการยกระดับผู้ประกอบการของไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ

4. การได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ เช่น การเข้าร่วมการอบรมสัมมนา การได้รับคำแนะนำ และการได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น




ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
คือ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งประกอบพาณิชยกิจในเชิงพาณิชย์อันเป็นอาชีพปกติ ดังนี้

(1) ซื้อขายสินค้าหรือบริการ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่ บุคคลที่มีเว็บไซต์เพื่อทำการซื้อขายสินค้าหรือบริการ

(2) บริการอินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider)

(3) ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting)

(4) บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Marketplace)





เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการจดทะเบียน

1. คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ และเอกสารแนบ สามารถ download แบบฟอร์มได้ที่
http://www.dbd.go.th/mainsite/index.php?id=733&L=1%27
http://www.dbd.go.th/mainsite/fileadmin/downloads/01_tp/form_tp.pdf

2. สำเนาบัตรประจำตัว
2.1 กรณีบุคคลธรรมดา ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
2.2 กรณีนิติบุคคล ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวผู้จัดการของห้างหุ้นส่วน หรือ
ของกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด (ไม่ต้องแนบหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล)

3. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

4. หนังสือชี้แจง (กรณียื่นล่าช้าหรือเกินกำหนด)






ค่าธรรมเนียม

จดทะเบียนพาณิชย์ (จดใหม่) 50 บาท
จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการ 20 บาท
จดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจ 20 บาท






สถานที่จดทะเบียน

(1) ผู้ประกอบการที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่นคำขอจดทะเบียนได้ ณ สำนักงานดังต่อไปนี้
โดยจะเลือกยื่นต่อสำนักงานใด ก็ได้

ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง (ชั้น 9 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ถ.สนามบินน้ำ) โทร. 0 2547 5153-5

สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1 อาคารธนาลงกรณ์ ทาวเวอร์ ชั้น 14 ถนนบรมราชชนนี แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กทม. 10700 โทร. 0 2446 8160-68
FAX. 0 2446 8169,0 2446 8191

สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 2 อาคารเลขที่ 78/13 ถนนพระราม 6 (สี่แยกประดิพัทธ์) เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0 2618 3340-41,45 FAX. 0 2618 3343-4

สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 3 อาคารปรีชาคอมเพล็ก(ซี 2) ชั้น 3 ถ.รัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 (เยื้อง สน.สุทธิสาร) โทร. 0 2276 7259-64 FAX. 0 2276 7263

สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 4 อาคารวรวิทย์ ชั้น 8 โซน A-B เลขที่ 222 ถ.สุรวงศ์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทร. 0 2234 2951-3 FAX. 0 2266 5852-3

สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 5 อาคารปรีชาคอมเพล็ก (ซี 2) ชั้น 4 ถ.รัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 (เยื้อง สน.สุทธิสาร) โทร. 0 2276 7255-7 FAX. 0 2276 7258,68

สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 6 อาคารโมเดอร์นฟอร์ม ชั้น 16 ถนนศรีนครินทร์ เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 โทร.0 2722 8366-7 FAX. 0 2722 8369

สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 7 (ถ.แจ้งวัฒนะ) โทร. 0 2


(2) ผู้ประกอบการที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่จังหวัดอื่น นอกจากกรุงเทพมหานคร ไม่ว่าจะตั้งอยู่อำเภอใด ให้ยื่นต่อสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนั้น ๆ เพียงแห่งเดียว



...

รับจ้างโพสต์...ธุรกิจรองรับอีคอมเมิร์ซ เพื่อก้าวสู่ความสำเร็จ




สำหรับท่านที่มีร้านค้า ที่ทำด้วยระบบเว็บไซต์สำเร็จรูป ไม่ว่าจะด้วยบริการของ
TARAD.com หรือ Weloveshopping.com

เมื่อท่านที่ทำการอัพข้อมูลรูปสินค้าขึ้นเว็บของท่านแล้ว
ร้านค้าเปิดสู่โลกออนไลน์ ลูกค้าก็เริ่มเข้ามาสู่เว็บของเรา
หลายๆ ท่านอาจจะได้รับการสอบถาม โทรถามจากลูกค้า หรืออาจจะ
เกิดการซื้อขายไปแล้ว ขอแสดงความยินดีด้วย

แต่สำหรับคนที่เว็บยังนิ่งๆ อยู่ ให้ลองสำรวจดูว่า เว็บไซต์ของเรา
มีอะไรบกพร่อง เช่น

- ใส่คียเวิร์ดที่ถูกต้องหรือยัง
- จัดสินค้าถูกตามหมวดหมู่หรือไม่
- ได้ทำการตลาดหรือยัง
- ประชาสัมพันธ์เว็บให้ทุกคนรู้จักหรือยัง

ในวันนี้ มีเทคนิคที่จะมาแนะนำทุกท่าน นั่นคืิิอ...
...เรื่อง การประชาสัมพันธ์ เว็บไซต์ ให้เป็นที่รู้จัก


สำหรับเรื่อง การทำเว็บให้คนรู้จัก มีหลายวิธีการ
สิ่งสำคัญเลยคือ ต้องทำให้เสิร์ซเอนจิ้น รู้จัก (SEO)

จากการที่เราใช้งานเว็บไซต์สำเร็จรูป ที่มีบริการใส่คียเวิร์ด
เพื่อทำเว็บให้ติดอันดับในกูเกิ้ล หากทุกท่านใส่คียเวิร์ดที่ตรง กับคำค้นหา
ผลที่เว็บเราจะขึ้นติดหน้าแรกกูเกิ้ล จะใช้เวลาประมาณ 3 เดือนเท่านั้น
(อันนี้ ประสบการณ์จริงค่ะ คนที่ทำแล้วได้ผลบอกมา)

หรือ สิ่งสำคัญเลย ให้ลองเอาข้อมูลเว็บเรา ไปโพสต์
ตามเว็บซื้อขายสินค้าต่างๆ ซึ่งเปิดให้บริการมากมาย

เมื่อเราโพสต์ข้อมูลทุกเว็บ ทุกวัน
กูเกิ้ลจะตามเก็บข้อมูลเหล่านั้น และบันทึกไว้
เมื่อมีการคลิกจากคนทั่วไป ทำให้อันดับหน้าเว็บของเรา
ขยับขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดเป็นธุรกิจรับจ้างโพสต์

สาเหตุที่เกิดธุรกิจนี้ขึ้น เพราะเมื่อเจ้าของกิจการ ได้เริ่มทำธุรกิจออนไลน์
เค้าอาจจะเป็นบุคคลที่ทำงานประจำอยู่ หรือมีออเดอร์สั่งมาจนผลิตสินค้าไม่ทัน
ทำให้เวลาที่จะต้องนำข้อมูลไปโพสต์ ไม่มีเวลา หรือต้องการเวลาพักผ่อน

ดังนั้น ธุรกิจการรับจ้างโพสต์ จึงเกิดขึ้น

มีเว็บนึง ที่อยากแนะนำให้ทุกท่านรู้จัก ซึ่งหลายๆ คนที่ใช้บริการแล้ว
พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ทำให้เว็บของเค้าติดอันดับเร็วมาก
เนื่องจากมีระบบการโพสต์ที่ช่วยทำให้กูเกิ้ลเสิร์ซเจอง่ายขึ้น

โพสต์ชัวร์ รับจ้างโพสต์

หากท่านใดสนใจ ลองติดต่อดู เพราะเค้ารับโพสต์สินค้าไม่ซ้ำกัน
อยากให้ทุกท่านได้รับเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการทำอีคอมเมิร์ซ
เพื่อให้ธุรกิจของทุกท่าน ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว

แต่หากท่านใด โพสต์เอง ทำเอง ก็ต้องอาศัยความอดทน
อย่าเบื่อ อย่าขี้เกียจ เพราะการเอาข้อมูลร้านของเรา
ไปโพสต์ตามเว็บต่างๆ เป็นอะไรที่เราต้องทำซ้ำๆ ทุกวัน

อย่าลืมว่า ในขณะที่เรากำลังโพสต์ ก็มีคนอื่น หรือคู่แข่งของร้านเีรา
ก็โพสต์ซ้ำรอยเราด้วย ดังนั้น เมื่อโพสต์แล้ว ไม่ใช่จบแล้วจบก้ัน
ต้องโพสต์ทุกวัน ทุกเว็บ โพสต์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

แล้วในวันนึง เราจะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ จากน้ำพักน้ำแรงที่เราลงไป

ขอให้่ทุกท่านพยายาม อย่าท้อถอย เพื่อความสำเร็จในวันข้างหน้า

ทำความรู้จักกับอีคอมเมิร์ซ...การค้าออนไลน์


เมื่อเอ่ยคำว่า "อีคอมเมิร์ซ" ย่อมเข้าใจได้เป็นอย่างดีว่า หมายถึง การค้าขายของออนไลน์ โดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการค้าขายนั้น

แต่ก่อนแต่ไร เราทำการค้าแบบมีหน้าร้าน มีร้านค้าขายของที่มีทำเลที่ตั้งจริง บางธุรกิจอาจใช้วิธีการขายทางโทรศัพท์ หรือ Telesale ในการขายสินค้า/บริการ

เมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในโลกปัจจุบัน จึงเกิดเป็นการค้าขายสินค้าผ่านการออนไลน์ เกิดเป็นการทำการตลาดผ่านออนไลน์ เพื่อให้คนบนโลกไซเบอร์ได้เข้าถึงตัวสินค้า/บริการนั้นๆ



องค์ประกอบสำคัญของการทำอีคอมเมิร์ซ มี 7 องค์ประกอบหลักๆ คือ




1.
สินค้า (Product) ได้แก่ สิ่งที่เราจะขายผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต มีหลายแบบคือ สินค้าที่จับต้องได้, สินค้าที่เป็น Content, สินค้าที่เป็นลักษณะการบริการ ...โปรดจำไว้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างขายได้


2.
เว็บไซต์ (Website) ถ้าหากจะเปรียบกับการขายของแบบออฟไลน์ ส่วนนี้ ก็คือ พื้นที่ที่จะจัดแสดงสินค้า หรือ หน้าร้านนั่งเอง ในส่วนของการทำอีคอมเมิร์ซ หน้าร้านหรือเว็บไซต์มีความสำคัญมาก เพราะเป็นองค์ประกอบที่จะทำให้เกิดความน่าสนใจในตัวสินค้า/บริการ

3.
การโฆษณาประชาสัมพันธ์ (Promote/Advertising) หากมีหน้าร้านแต่ไม่มีลูกค้าเข้า หากมีเว็บไซต์สวยงาม แต่ไม่มีคนเข้ามาดู นั่นคือ ความล้มเหลว ด้วยเหตุนี้ การทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์ร้านให้ทุกคนรู้จัก ย่อมเป็นสิ่งที่สมควรศึกษา

4.
ลูกค้า (Customer) ข้อนี้ขาดไม่ได้เลย เป็นหัวใจสำคัญ ร้านจะเจ๊งหรือไม่ ขึ้นอยู่กับคุณลูกค้าเลยทีเดียว

5.
การชำระเงิน (Payment) มาถึงองค์ประกอบนี้ คนที่เปิดร้านค้าออนไลน์คงจะยิ้มออก นั่นคือ เกิดการซื้อขาย มีการใช้ระบบชำระเงิน ซึ่งในประเทศไทย มีหลายๆ ส่วนที่พยายามสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องของระบบการชำระเงิน ซึ่งจะขอย้ำว่า ...ถ้าเราเองยังไม่เชื่อมั่นในระบบชำระเงิน ก็เป็นเรื่องยากที่จะให้คนอื่นเชื่อมั่น

6.
การขนส่ง (Logistic) สินค้าบางประเภทอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้การขนส่ง เพราะเป็นสินค้าประเภท Content หรือไฟล์ หรือจำพวกสินค้าด้านบริการ แต่สำหรับสินค้าที่จำเป็นต้องพึ่งพาการขนส่ง ก็มีความจำเป็นที่จะเข้าใจถึงกระบวนการขนส่ง ที่จะช่วยลดต้นทุน และรักษาสินค้าของเราให้คงสภาพเดิม ไม่แตกหักเสียหาย

7.
ผู้ดูแล เป็นอีกหนึ่งบุคคลสำคัญที่จะช่วยบริหารจัดการร้านค้าให้ประสบความสำเร็จ เพราะไม่เพียงต้องดูแลจัดการอัพเดทสินค้า เนื้อหาในร้าน ยังต้องดูแล ส่วนการจัดส่งสินค้า การตอบอีเมล์ลูกค้าด้วย หากเป็นกิจการเล็กๆ ในส่วนนี้ อาจจะเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการเอง


เมื่อเล่ากล่าวถึง องค์ประกอบที่ควรจะมี 7 ข้อข้างต้น เราก็เริ่มเห็นภาพอีคอมเมิร์ซที่ชัดเจนขึ้น

ขาย "ของแปลก" บนอีเบย์

ทฤษฎี "ของแปลก" ยังไงก็ขายได้


- กุมภาพันธ์ 2004 : Mike Landa เปิดประมูลซากเครื่องบินรบรุ่น F/A-18 Hornet โดยมีราคาเริ่มต้นที่ 1,000,000 เหรียญสหรัฐ (34,000,000 บาท) ซึ่ง Landa ได้เครื่องบินลำนี้มาจากโรงเก็บของเก่าในราคา 9,000,000 เหรียญ (306,000,000 บาท) (รวมค่าซ่อมบำรุงให้ใช้งานได้) เขายังแจ้งต่อผู้ที่จะซื้ออีกว่า เครื่องบินลำนี้ต้องใช้ค่าบำรุงรักษาราว 40,000 เหรียญ (1,360,000 บาท) ต่อเดือนต่อการใช้บินเป็นเวลา 2-3 ชั่วโมง ทาง FBI ได้กำหนดให้ Landa ขายเครื่องบินลำนี้ให้ได้เฉพาะกับพลเมืองสหรัฐที่พำนักอยู่ในประเทศและห้าม ไม่ให้เครื่องบินออกไปจากน่านฟ้าสหรัฐ การประมูลจบลงที่ไม่มีการซื้อขายเพราะไม่มีใครมีตังค์พอจะซื้อได้

- มกราคม 2006 : ชาวอังกฤษชื่อ Leigh Knight ขาย Brussel Sprout (พืชคล้ายกะหล่ำชนิดหนึ่ง) ที่เหลือจากอาหารค่ำวันคริสต์มาสไปในราคา 1550 เหรียญ (52,700 บาท) เพื่อนำไปช่วยการวิจัยโรคมะเร็ง

- พฤษภาคม 2006 : นักธุรกิจชาวจีนชื่อ Zhang Cheng ซื้อเครื่องบินรบ MIG-21 เก่าของกองทัพอากาศแห่งสาธารณรัฐเช็คจากผู้ขายในสหรัฐไปในราคา 24,730 เหรียญ (840,820 เหรียญ) อย่างไรก็ดี ไม่ทราบได้ว่าทางการจีนได้อนุญาตให้มีการส่งมอบเครื่องบินมาให้หรือไม่

- มิถุนายน 2005 : ภรรยาของ Tim Shaw ดีเจวิทยุชาวอังกฤษ ประกาศขายรถสปอร์ตรุ่น Lotus Esprit ของสามีในราคา 50 pence (33.5 บาท) หลังได้ยินเขาจีบนางแบบ Jodie Marsh ออกอากาศ รถขายได้ใน 5 นาทีโดยผู้ซื้อจะต้องมารับรถไปภายในวันนั้นเลย

- พฤษภาคม 2005 : รถรุ่น Volkswagen Golf ซึ่งเคยเป็นของพระคาร์ดินัล Joseph Ratzinger ผู้แต่งตั้งพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ถูกประกาศขายบน EBay เยอรมันในราคา 188,938.88 ยูโร (277,171.12 เหรียญสหรัฐ) (9,423,818 บาท) ผู้ชนะการประมูลคือคาสิโนออนไลน์ GoldenPalace.com

- ต้นปี 2004 : HMS Vengeance อดีตเรือบรรทุกเครื่องบินน้ำหนัก 16,000 ตันของอังกฤษถูกประกาศขาย ทางอีเบย์ได้ยกเลิกการประมูลเนื่องจากกำหนดให้ตัวเรือเป็นอาวุธแม้ว่าจะมี การถอดระบบอาวุธทั้งหมดออกจากเรือแล้วก็ตาม

- น้ำที่ว่ากันว่าเหลืออยู่ในถ้วยที่เอลวิส เพรสลีย์เคยดื่มถูกขายไปในราคา 455 เหรียญ (15,470 บาท) น้ำปริมาณไม่ถึง 1 ช้อนโต๊ะนี้มาจากถ้วยพลาสติกที่เอลวิสจิบในคอนเสิร์ตเมื่อปี 1977 ที่นอร์ธแคโรไลน่า

- นักศึกษามหาวิทยาลัยโคเวนทรีเคยขายคอร์นเฟล็กซ์ 1 ชิ้นได้ในราคา 1.2 ปอนด์ (80.4 บาท)

- ชายคนหนึ่งในบริสเบน ประเทศออสเตรเลียเคยพยายามจะขายประเทศนิวซีแลนด์ด้วยราคาเริ่มต้น 0.1 เหรียญออสเตรเลีย (3.3 บาท) ราคาได้เพิ่มขึ้นไปถึง 3,000 เหรียญออสเตรเลีย (99,000 บาท) ก่อนที่อีเบย์จะสั่งปิดการประมูล

- ธันวาคม 2004 : หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งของออสเตรเลียรายงานว่าคอร์นเฟล็กซ์ยี่ห้อ Kellogg's ชิ้นหนึ่งที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนตัว ET ถูกขายไปบนอีเบย์ด้วยราคา 1,035 เหรียญออสเตรเลีย (34,155 บาท) แต่ผู้ขายก็ยังคงทำเงินได้มากกว่านั้นจากการไปออกรายการทีวีต่างๆ

- ปี 2004 : เครื่องขุดเจาะอุโมงค์ที่เคยใช้ในการขุดเจาะอุโมงค์ลอดช่องแคบโดเวอร์เครื่องหนึ่งเคยถูกประมูลบนอีเบย์

- กลุ่มชาย 4 คนจากออสเตรเลียเคยประมูลตัวเองแลกกับ "เบียร์, กับแกล้ม, การสนทนาดีๆและมุขตลกเป็นกระบุงโกย" ได้ราคา 1300 เหรียญออสเตรเลีย (42,900 บาท)

- ดิสนีย์เคยประกาศขายรถโมโนเรล เรด (รุ่น Mk IV) ที่ปลดระวางแล้วไปในราคา 20,000 เหรียญ (68,000บาท)

- สมาคมภาษาเยอรมันเคยประกาศขายภาษาเยอรมันเพื่อกระตุ้นให้ผู้คนตื่นตัวในเรื่องภาษาวิบัติในภาษาเยอรมันยุคใหม่

- ปลายปี 2005 : ป้าย Hollywood อันเดิมถูกขายไปบนอีเบย์ในราคา 450,400 เหรียญสหรัฐ (15,313,600 บาท)

- มกราคม 2007 : Brussel Sprout ปรุงสุกที่กินเหลือถูกขายไปบนอีเบย์ได้ราคา 15,000 ปอนด์ (105,000 บาท)

- กุมภาพันธ์ 2007 : หลังจากบริทนีย์ สเปียร์สโกนหัวตัวเองที่ร้านตัดผมในกรุงลอนดอน ผมของเธอก็ถูกนำมาขายบนอีเบย์ในราคา 1,000,000 เหรียญสหรัฐ (34,000,000 บาท) ก่อนจะถูกยกเลิก

- ปี 2002 : เมือง Bridgeville ในแคลิฟอร์เนีย (มีประชากร 25 คน) เป็นเมืองแรกที่ถูกประกาศขายบนอีเบย์ และถูกประกาศขายมา 3 ครั้งแล้ว

- Manny Ramírez นักกีฬาเบสบอลของทีม Boston Red Sox เคยพยายามจะขายเตาบาร์บีคิวของเพื่อนบ้านโดยมีราคาเริ่มต้นที่ 3,000 เหรียญ (102,000 บาท) และราคาก็พุ่งกระฉูดอย่างเหลือเชื่อไปจนถึง 99,999,999 เหรียญ (3,399,999,966 บาท) ซึ่งเป็นราคาสูงมสุดที่อีเบย์ให้ใส่ได้ การประมูลถูกทางอีเบย์ยกเลิกเพราะมีการแถมลูกเบสบอลที่มีลายเซ็นต์ให้พร้อม กับเตาซึ่งผิดกฏของอีเบย์ที่ห้ามให้สิ่งของอื่นไปด้วยนอกเหนือจากที่ลงไว้

- เมษายน 2005 : นักลงทุนชาวอเมริกัน Matt Rouse ประกาศขายสิทธิ์ในการเลือกชื่อกลางให้ตัวเขาเอง หลังได้รับเงิน 8,000 เหรียญ (272,000 บาท) แล้ว ศาลรัฐยูท่าห์ไม่อนุญาตให้เปลี่ยนชื่อ เขาจึงต้องใช้ชื่อกลางเดิม Jean มาจนถึงปัจจุบัน

- ปี 2004 : เนยแข็งที่กินค้างไว้อายุ 10 ปีที่ว่ากันว่าปรากฏภาพพระแม่มาเรียขึ้นถูกขายไปบนอีเบย์ด้วยราคา 28,000 เหรียญ (952,000 บาท)

- มกราคม 2008 : ลูกกอล์ฟสี่ลูกที่ผ่าเอาออกมาจากท้องงูเหลือมที่กินมันลงไปขณะเข้าไปกินไข่ ในเล้าไก่ถูกประมูลขายบนอีเบย์ เรื่องนี้ทำให้เกิดการตื่นตัวในระดับนานาชาติและตัวลูกกอล์ฟก็ขายได้ที่ราคา 1,400 เหรียญออสเตรเลีย (46,200 บาท) ส่วนตัวงูเหลือมก็หายดีและถูกปล่อยเข้าป่าไป

- พฤษภาคม 2008 : Paul Osborn จากอังกฤษประกาศขาย Sharon ภรรยาของเขาบนอีเบย์โดยกล่าวหาว่าเธอเป็นชู้กับเพื่อนร่วมงาน

- มิถุนายน 2008 : Ian Pusher เปิดประมูล "ทั้งชีวิต"ของเขา การประมูลครอบคลุมบ้านของเขาในเพิร์ธ, การแนะนำให้รู้จักเพื่อนและการทดลองทำงานของเขา ปิดประมูล ชีวิตเขาขายได้ที่ 384,000 เหรียญ (13,056,000 บาท)


Credit : Wikipedia - http://en.wikipedia.org

ขาย "อะไร" ดี อีคอมเมิร์ซ

ส่วนมาก คนที่เพิ่งเริ่มเข้ามาสู่การค้าขายออนไลน์
หรือ คิดที่จะมาค้าขายออนไลน์ มักจะถามคำถามนึง
ที่เป็นคำถาม อมตะ ยอดฮิตตลอดกาล นั่นคือ

"จะขายอะะไรดี"

สำหรับมือใหม่อีคอมเมิร์ซ คงต้องทดสอบค้นหา "สินค้า"
ที่เหมาะสมกับตัวเอง เพื่อการค้าขายผ่านออนไลน์ดังกล่าว

ตามหลักการแล้ว สิ่งที่จะเป็น "สินค้า" ได้นั้น
คือ
สิ่งของที่จับต้องได้, สิ่งที่เป็นข้อมูล เช่น Content
และ บริการ

ซึ่งทั้งสามสิ่ง มีความหมายกว้างขวางมาก
และสิ่งที่จะนำมาเป็น "สินค้า" ก็มีมากมายสุดพรรณา

ในที่นี้ จะเสนอไอเดีย ที่อาจจะมีประโยชน์ต่อผู้ทำอีคอมเมิร์ซ

- ขายของแปลก ทุกสิ่งอย่างที่มีบนโลกนี้ เช่น ขายกลิ่นเหงื่ือของสาวสวย,ขายไส้เดือนกิ้งกือ
- ขาย Dot บนหน้าจอคอม
- หาใครมีความสามารถด้านกราฟฟิค ทำเว็บ ก็ขายเทมเพลตสวยๆ ที่ออกแบบเอง
- ขาย ขวดเป็ปซีที่มีหลอดอยู่ข้างในขวดที่ยังไม่เปิด (ราคา 2 ล้านเชียวนะ)
- ขายอุกาบาตจากนอกโลก
- ขาย ลายเซ็นต์คนดัง
- ขายกระป๋องเป็ปซีที่เป็นคอลเล็คชั่นเฉพาะจากทั่วโลก
- ขายความรู้ด้านต่างๆ

ทั้งหลายทั้งปวง สามารถนำมาขายได้ หากรู้จักนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์
แต่สิ่งสำคัญที่ควรนึกถึงคือ "สินค้า" ที่นำมาขาย ควรเป็นสินค้าที่ถูกต้อง เหมาะสม
เพื่อการทำการค้าออนไลน์ที่ยั่งยืน

ร่ำรวย...อย่างยั่งยืน

ในโลกยุคปัจจุบัน การทำเงินจากโลกออนไลน์ มีได้หลากหลาย
ทั้งการทำเงินโดยการซื้อขาย มีสินค้า ซื้อขายกันทั้งสินค้าที่จับต้องได้
และสินค้าที่จับต้องไม่ได้ เช่น โปรแกรมไฟล์ ซอร์สโค้ด หรือบริการต่างๆ

อีกแบบคือ การทำรายได้จาก Affiliate Program ต่างๆ หรือการทำเว็บไซต์ ขึ้นมาเพื่อ
ติด Google AdSense หรือ การนำสินค้าจาก Amazon มาขาย ล้วนแล้วแต่
เป็นวิธีการหาเงินแบบที่ไม่ต้องลงทุน แต่สิ่งที่ต้องแลกมาคือ
"การลงแรง"
และ
"มันสมอง" ที่ต้องคิดกลยุทธ์ในการทำการตลาด เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีกลับมา

"เงินทองเป็นมายา ข้าวปลาเป็นของจริง" วลีสุดฮิตที่มักจะพูดกันในยามวิกฤติเศรษฐกิจ
ก็ยังสามารถใช้ได้กับการหาเงินในโลกไซเบอร์เช่นกัน

จริงอยู่ที่การทำรายได้ออนไลน์แบบจับเสือมือเปล่านั้น ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า
แต่ก็ต้องใช้ทั้งกลยุทธ์ เล่ห์เหลี่ยม ความรวดเร็ว ทันกระแส และอาจจะรวมถึง
การทำงานแบบแนวมืดที่เรียกว่า Black hat ด้วย เพราะงานประเภทจับเสือมือเปล่านี้
ไ้ด้เงินเยอะ เงินจริง มาเร็ว ไปเร็ว ...หากทำงานแบบขาวสะอาด ก็อาจไม่ประสบความสำเร็จ

แต่...ใดใดในโลกล้วนเปลี่ยนแปลง เพราะผู้ที่คิดกฎการสร้างรายได้เหล่านั้น สามารถจะ
เปลี่ยนแปลงนโยบายในการทำรายได้ ได้ตลอดเวลา เช่น กรณี Amazon ที่ห้ามโปรโมท
Affiliate Links ผ่าน PPC ซึ่งทำให้วงการคนหารายได้ด้วย Amazon สั่นสะเทือนกันมาแล้ว

มีหลายคนที่โอดครวญเข้ามาว่า ไม่รู้อินเทอร์เนต ทำโปรแกรมอะไรไม่เป็นเลย
แต่ได้รับรู้ และตาโต กับข้อความโฆษณาของกลุ่มคนที่จัดสัมมนาสร้างรายได้ออนไลน์
ที่มักจะโชว์ตัวเลขผลตอบแทนที่ได้มาในแต่ละเดือน ทำให้มี "เหยื่อ" ที่เข้ามาสู่วงเวียน
การสร้างรายได้เหล่านี้จำนวนมาก

การสร้างเงินแบบไม่ต้องลงทุนนี้ สามารถสร้างรายได้ ได้ "จริง" มิใช่หลอกลวง
แต่ต้องขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ในตัวผู้ทำ เช่น ความสามารถด้านเทคโนโลยี, ความ
สามารถด้านภาษา, ความสามารถด้านกราฟฟิค หรือความสามารถด้านอื่นๆ ที่จะเป็น
"ตัวเร่งปฏิกิริยา" ในการทำรายได้กลับมาสู่คนทำ

มองย้อนกลับมาที่คำว่า "ร่ำรวย อย่างยั่งยืน" ...ถ้าหากจะถามกับผู้สร้างเงินออนไลน์
แบบจับเสือมือเปล่า ว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้น "ยั่งยืน" หรือไม่ ...เชื่อว่า คำตอบเป็นเอกฉันท์
คือ ไม่ยั่งยืน

ด้วยเหตุนี้ การที่เราสร้างรายได้โดยใช้ช่องทางออนไลน์ แบบทีี่่จีรัง ยั่งยืน ก็คือ
...การทำอีคอมเมิร์ซ มีสินค้าจริง ค้าขายแบบสุจริต ยุติธรรม

การมุ่งทำการค้าแบบอีคอมเมิร์ซ ที่ค่อยๆ ก้าว ค่อยๆ เรียนรู้ แม้ว่าจะไม่รู้จักเทคโนโลยี
มากนัก แต่สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้ ไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยมากมายกับการวิ่งไล่ตาม
เชื่อว่า คนที่มีร้านค้าออนไลน์ ย่อมจะเข้าใจความหมายของ "ร่ำรวย อย่างยั่งยืน" เป็นอย่างดี

กระทรวงพาณิชย์ สั่งขึ้นทะเบียน "อี - คอมเมิร์ซ"

หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ, วันที่ 18 เมษายน 2546


กระทรวงพาณิชย์ขอคุม 5 หมื่นกว่าล้านในตลาด e-Commerce เดินเครื่องเต็มสูบดันเข้าระบบธุรกิจโปร่งใส และคุ้มครองผู้บริโภค กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องขึ้นทะเบียนภายใน 17 พ.ค.นี้ หวังกระตุ้นเศรษฐกิจและผู้ประกอบการ SME รายใหม่เผย 10 ธุรกิจออนไลน์ยอดนิยม แค่ธุรกิจอาหารไทยฟันปีละ 2-3 หมื่นล้าน ก้าวต่อไปสร้างคุณภาพสัญลักษณ์ Trust mark คาดอีก 2 เดือนได้เห็น

วันนี้ รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) กำลังเกิดความชัดเจนขึ้นตามลำดับ สอดคล้องกับแนวทางของ e-ASEAN และ e-Thailand โดยเฉพาะธุรกิจที่ทำผ่านระบบออนไลน์ ในการจัดซื้อจัดจ้าง (e-Procurement) และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(e-Commerce)

การดีเดย์ของกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในประกาศฉบับล่าสุดระบุให้ ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในประเทศไทยต้องยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2546เป็นต้นไป

มีคำถามเกิดขึ้นทันทีว่าสภาพการณ์ปัจจุบัน รูปแบบธุรกิจ-ธุรกรรมเช่นนี้มีความพร้อมเพียงใดสำหรับการทำธุรกิจของไทย กับภาวะปัจจุบันและอนาคต!!! รวมถึงมูลค่าตลาดรวมของธุรกิจนี้ใหญ่โตหรือน่าลิ้มลองเพียงใด??? ทั้งหมดล้วน เป็นโจทย์ที่ต้องค้นหา


ธุรกิจ e-Commerce ปีนี้โตห้าหมื่นล้าน
อรจิต สิงคาลวณิช อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยกับ"ผู้จัดการรายสัปดาห์"ว่า มูลค่ารวมของตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จากการสำรวจของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) พบว่ามีประมาณห้าหมื่นกว่าล้านบาทต่อปี

"จากรายงานของบริษัทอินฟอร์เมชั่นดาต้า เซ็นเตอร์ ได้คาดการณ์ว่า ในปี 2546 ไทยจะมีมูลค่าของตลาด e-Commerce ในราว 50,920 ล้านบาทในปี 2546 และขณะนี้ NECTEC ได้ร่วมกับทางสำนักงานสถิติแห่งชาติ กำลังทำสำมะโนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ และผู้ที่ประกอบธุรกิจด้าน e-Commerce โดยตรงว่าปัจจุบันมีจำนวนเท่าไร ที่ชัดเจนอีกครั้ง"

จากการสำรวจล่าสุด เมื่อปี 2544 มีผู้ประกอบการรวมทั้งสิ้น 6,460 เว็บไซด์ โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการทำ Website 10 อันดับแรก ได้แก่ การท่องเที่ยว คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต เครื่องนุ่งห่มและเครื่องสำอาง ขายดอกไม้ หัตถกรรม ค้าปลีก/ค้าส่ง เครื่องประดับ บันเทิง ร้านอาหาร และสิ่งพิมพ์

ทั้งนี้ สามารถแบ่งระดับการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ 2 ระดับ คือ

1.พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ขั้นเริ่มต้น คือ Website เพื่อการโฆษณา ประชาสัมพันธ์เพียงอย่างเดียว โดยยังไม่มีการค้าขาย หรือชำระเงิน เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูล และทดลองความนิยมของ Website และสินค้า พิจารณาจากจำนวนผู้ที่เข้าชม เช่น การท่องเที่ยว คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เนต บันเทิง อาหารและยา การเงิน และสิ่งพิมพ์ ซึ่งมีประมาณ ร้อยละ 88.58

2.พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ขั้นก้าวหน้า คือ Website ที่มีระบบการสั่งซื้อ/สั่งจอง การชำระเงิน การขนส่งสินค้า การรักษาความปลอดภัย และระบบการติดตามสินค้า เช่น การท่องเที่ยว คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต เครื่องนุ่งห่มและเครื่องสำอาง ขายดอกไม่ หัตถกรรม ค้าปลีก/ค้าส่ง เครื่องประดับ บันเทิง ร้านอาหาร และสิ่งพิมพ์ ซึ่งมีประมาณ ร้อยละ 11.42 ที่สำคัญจะเป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อย(SME)และกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศอีกรูปแบบหนึ่ง

"ปัจจุบันร้านค้าอาหารไทย ที่ใช้ชื่อว่า "Food Market Thai Exchange.com " ซึ่งเป็นของบริษัทไทยยูเนี่ยนฟู้ด ระบุว่า มียอดจำหน่ายสินค้าผ่านทาง Website ต่อปีถึง 20,000-30,000 ล้านบาท" แหล่งข่าวระบุ


จดทะเบียนก่อน 17 พ.ค. http://www.thairegistration.com/thai/e-commerce/register.phtml
อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ระบุว่าประกาศกระทรวงฯกำหนดให้ผู้ที่ทำธุรกิจ e-Commerce ทุกรายทั้งบุคคลธรรมดาและ นิติบุคคลจะต้องจดทะเบียน ภายในวันที่ 17 พ.ค.นี้ จุดประสงค์ ไม่ใช่ต้องการเข้าไปดูแลหรือควบคุมการทำธุรกิจด้านนี้ แต่ต้องการส่งเสริมและให้เกิดความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค/ประชาชน และสร้างความเชื่อมั่นต่อการทำธุรกิจรูปแบบนี้ในปัจจุบันและอนาคตน

"จะเป็นผลดียิ่งต่อผู้ทำธุรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะมีใบทะเบียนพาณิชย์ หรือระบุเลขทะเบียนพาณิชย์ไว้บน Website (Home Page) ด้วย นอกจากนี้ ยังสามารถควบคุมผู้ประกอบการ Website ที่ไม่ถูกต้องในลักษณะต่างๆ เช่น การละเมิดลิขสิทธิ์ และ Website ประเภทอนาจาร"

นอกจากนี้ จะเป็นศูนย์กลางข้อมูลพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภค โดยจัดทำเป็น e-Directory ได้รับสิทธิพิเศษในการสนับสนุนด้านการตลาด เช่น การเข้าร่วมโครงการ e-marketplace ได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ เช่น การเข้าร่วมการอบรมสัมมนาที่กรมจะจัดขึ้น การได้รับคำแนะนำและการรับข้อมูลข่าวสารของกรม และในส่วนของกรมฯ ก็จะบรรจุและพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ตามนโยบายของรัฐบาลควบคู่ไปด้วย


แจงขั้นตอนจดทะเบียน
สำหรับขั้นตอนผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ กรณีเป็นประกอบการอยู่ก่อน 17 พ.ค.ให้ยื่นขอจดทะเบียนแล้วเสร็จ ภายในวันที่ 16 มิ.ย. โดยยื่นขอจดทะเบียนตั้งแต่ 17 พ.ค.เป็นต้นไป

กรณีเริ่มประกอบการใหม่ ตั้งแต่ 17 พ.ค.นี้ ให้ยื่นขอจดทะเบียนให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มประกอบการใหม่ เสียค่าธรรมเนียมเพียงรายละ 50 บาท หรือผู้ที่จดทะเบียนพาณิชย์อยู่แล้ว ก่อน17 พ.ค.ให้แจ้งนายทะเบียนทราบ โดยแจ้งต่อสำนักงานทะเบียนพาณิชย์ที่ยื่นจดไว้ ต่างจังหวัดให้แจ้งต่อสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนั้นๆ ภายใน 16 มิ.ย.นี้ พร้อมสำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ เพื่อนายทะเบียนจะได้ดำเนินการ ตรวจสอบว่าได้จดทะเบียนพาณิชย์โดยถูกต้องแล้ว

"การจดทะเบียนพาณิชย์จะมีลักษณะคล้ายกับป้ายทะเบียนรถยนต์ ให้รู้ว่ามีตัวตนและสร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภค แต่เป็นคนละประเด็นกับการโกง เพราะเมื่อจดทะเบียนก็ยังเกิดการโกงได้ ซึ่งจะสามารถตรวจสอบแหล่งต้นตอได้ง่าย ทางกรมฯ ต้องการรู้ว่าผู้ประกอบธุรกิจด้านมีประเภทใด ตั้งอยู่ที่ไหนเพื่อรวบรวมเป็นข้อมูล ให้ผู้บริการและผู้บริโภค"

สำหรับบทลงโทษผู้ประกอบการที่ไม่ยื่นจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499 มาตรา 19 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท และปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งร้อยบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง


สร้างมาตรฐานเชลล์อีคอมฯ
แนวทางการพัฒนา e-Commerce ได้รับการเปิดเผยต่อไปว่า ทางกรมฯเตรียมจะสร้างสัญลักษณ์ในลักษณะมาตรฐานคุณภาพสินค้า (Trust mark) ในระยะต่อไป คล้ายการการันตีว่า เป็นสินค้าที่มีคุณภาพอยู่ในระดับที่ดี ซึ่งผ่านการรับรองจากกระทรวงพาณิชย์แล้วในระดับหนึ่ง คล้ายกับสัญลักษณ์ "เชลล์ชวนชิม" บ่งชี้ว่าร้านอาหารนี้มีรสชาติดี อร่อยและถูกหลักอนามัย

โดยขณะนี้ทางกรมฯ กำลังดำเนินการใน 2 ลักษณะควบคู่ในการสร้าง Trust mark ดังกล่าวคือ การตั้งคณะกรรมการขึ้นมากำหนดหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบธุรกิจที่เข้าข่าย เช่น ได้รับการการันตีจากธนาคารด้านระบบจ่ายเงิน ระบบขนส่งดี และการประกันคุณภาพสินค้า ฯลฯ และการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาคุณภาพสมบัติของคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ อีกต่อหนึ่ง คาดว่าจะมีผลใช้ได้จริงอีก 2 เดือนจากนี้

ในระบบการตรวจสอบก็จะมีคณะทำงานที่พิจารณาว่า เมื่อผู้ประกอบธุรกิจนี้ได้รับTrust mark ไปแล้วยังรักษาคุณภาพและคุณสมบัติที่ดีในการให้บริการต่อผู้บริโภคหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามบรรทัดฐานที่ทางกรมฯ กำหนดจะต้องถูกถอนใบอนุญาต และริบตราสัญลักษณ์คืน และอาจจะตกเป็นหนึ่งในแบล็คลิสต์(บัญชีดำ)ของกรมฯ ที่ถูกจับจ้องเป็นพิเศษด้วย

๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑

โฮส - - - เว็บ - - - โดเมน

ที่ดิน --- บ้าน --- เลขที่บ้าน


สามคำ ดังกล่าวเป็นการเปรียบเทียบตัวอย่างแบบง่าย และเห็นภาพมากที่สุด
เมื่อเรามี "ที่ดิน" ผืนนึง เราบรรจงสร้าง "บ้าน" ให้ออกมาอย่างสวยงาม และเมื่อบ้านสร้างเสร็จ
เราก็ต้องไปขอเลขที่บ้าน สามสิ่งนี้ คือ หัวใจสำคัญ สำหรับผู้ที่ต้องการจะมีเว็บไซต์ เช่นกัน

เพราะการจะมีเว็บไซต์นั้น จะประกอบด้วยองค์ประกอบอย่างน้อย 3 ประการ คือ
- พื้นที่เก็บข้อมูลสำหรับทำเว็บไซต์ (พื้นที่ ในฮาร์ดดิสก์ของเครื่องแม่ข่ายของผู้ให้บริการการทำเว็บ เครื่องแม่ข่ายที่ว่าเรียกว่า “โฮสต์” (Host), ผู้ให้บริการ เรียกว่า “เว็บโฮสติ้ง” (Web hosting)
- เว็บไซต์ (Website) จากผู้บริการเว็บฟรี เว็บสำเร็จรูป หรือจ้างเขียนเว็บไซต์ ก็ตาม
- ชื่อโดเมน เช่น www.sumapi.com (สามารถเรียนรู้ หลักการตั้งชื่อโดเมนเนม ที่นี่)


พื้นที่ (Host) = ที่ดิน
เว็บไซต์ (Website) = ตัวบ้าน
โดเมน (Domain) = บ้านเลขที่


เมื่อทราบถึงความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันดังกล่าวแล้ว จะมองเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นในการเริ่มต้นการค้าออนไลน์ เพราะส่วนสำคัญ 3 ส่วน จะต้องมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เช่น ถ้าเราใช้ที่ดินฟรี เราสร้างบ้าน เราขยายบ้านจนใหญ่เต็มที่ดิน เจ้าของที่อาจไล่เราออกจากที่ดิน หรือวันใดวันหนึ่ง เจ้าของที่ดิน อาจจะมาไล่ที่เราก็ได้ ถ้าเค้าต้องการนำที่ดินไปทำประโยชน์อย่างอื่น, ถ้าเรามีบ้าน แต่ไม่ไปขอเลขที่บ้าน แต่ใช้เลขที่บ้านรวม ก็อาจจะมีคนส่ง จม. มาผิดบ้าน ก็เป็นได้

ถ้าเราไม่มีอะไรเป็นของตัวเองเลย บ้านก็ต้องเช่า ที่ดินก็อาศัยเค้าอยู่ และบ้านเลขที่รวม ก็เหมือนยืนอยู่บนเลน ไม่มั่นคง ไม่มีหลักมีฐาน เหมือนประกอบกิจการเถื่อน ซึ่งไม่ดีแน่ สำหรับผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ

ดังนั้น อย่างน้อย เราควรไปยื่นขอบ้านเลขที่ก็ยังดี ซึ่งก็คือ มีโดเมนเนม เป็นของตัวเอง (อันนี้ แนะนำว่า ถ้าเริ่มสร้างกิจการอีคอมเมิร์ซ แค่เพียงมีชื่อโดเมนไว้ก่อน ก็ทำให้เราดูดีมาระดับหนึ่ง)

การจดทะเบียนโดเมนเนม มีขั้นตอนง่ายๆ แต่จะอธิบายความเป็นมาของเจ้าของ ผู้อนุญาตให้เราได้ใช้โดเมนเนมก่อน เพราะโดเมนเนมแต่ละชื่อนั้น จะไม่สามารถตั้งซ้ำ หรือเหมือนกันได้ องค์กรผู้ดูแลจัดระเบียบโดเมน คือ ICANN : Internet Corporation for Assigned Names and Numbers

ICANN แจกจ่ายให้ตัวแทน มีสิทธิในการนำโดเมนเนมไปขายต่อ โดยเชื่อมฐานข้อมูลเดียวกัน ดังนั้น โดเมนเนมของทุกประเทศในโลก จึงมาจากที่เดียวกัน สำหรับประเทศไทย อาจจะมีค่าบริการจดโดเมนเนม อยู่ระหว่าง 300-500 บาท ต่อ 1 ชื่อ ต่อ 1 ปี (จ่ายเงินกันปีต่อปี หรือเลือกที่จะจ่ายเป็นช่วงยาวก็ได้) ราคาที่แตกต่างกัน แล้วแต่ผู้ประกอบการตั้งราคา แต่หากซื้อโดเมนเนมจากต่างประเทศ จะพบว่ามีราคาถูกมาก อยู่แค่ประมาณไม่เกิน 10$

ผู้ขายโดเมนเนมรายยักษ์ใหญ่ของโลก ได้แก่ Godaddy ที่มักจะมีโปรโมชั่นดีๆ มาเสนอเราเสมอ แต่ถ้าใครไม่คล่องภาษา ก็ซื้อโดเมนเนม กับผู้ให้บริการในไทยก็ได้ ราคาต่างกันไม่เท่าไรนัก

สำหรับเรืื่อง "บ้าน" ได้คุยไว้แล้ว ใน บทความนี้

ส่วนเรื่องความรู้เกี่ยวกับโดเมนเนม ศึกษาได้ใน บทความนี้





เริ่มต้นกับร้านค้าออนไลน์ ด้วยเว็บสำเร็จรูป

สมัยก่อน การมีเว็บไซต์สักหนึ่งเว็บไซต์ เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณากันอย่างถี่ถ้วน เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการจัดทำสูงมาก เป็นหลักแสน หรือหลักล้าน ...แต่เทียบกับปัจจุบัน ที่มีผู้ให้บริการมากมาย ที่บริการจัดทำเว็บไซต์ในราคาแสนถูก หรือผู้บริการเว็บไซต์สำเร็จรูปหลากหลายยี่ห้อ (สามารถค้นหาใน Google ด้วยคีย์เวิร์ด คำว่า "เว็บสำเร็จรูป,เว็บไซต์สำเร็จรูป,ร้านค้าออนไลน์") ซึ่งผู้ใช้สามารถเปิดใช้งานได้ทันที และบางแห่งก็ให้บริการ ฟรี อีกด้วย

ถ้าลองค้นหา ด้วยคำว่า "
เว็บไซต์สำเร็จรูป" จากหน้าเว็บไซต์ www.google.co.th
จะพบว่า มีผลการค้นหาแสดงออกมาเป็นสองส่วน คือ ผลการค้นหาแบบปกติ และผลการค้นหาที่เป็น AdWords (ความรู้เรื่อง การลงโฆษณาแบบ AdWords นี้ สามารถค้นหาเพิ่มเติม ที่นี่)

ในส่วนการค้นหาที่เป็น AdWords มีคนที่ใช้คีย์เวิร์ดนี้ ในการทำโฆษณาอยู่ 4 ราย ได้แก่
http://www.readyplanet.com
http://www.igetweb.com
http://www.chaiyoreadyweb.com
http://www.makewebeasy.com

ซึ่งถ้าท่านใดสะดวกที่จะเลือกคลิกเลือกที่จุดนี้ ก็จะง่าย และได้ผลค้นหาตรงกับความต้องการ
แต่เมื่อเข้าไปในแต่ละเว็บไซต์นั้นๆ แล้ว ก็ไม่ได้การันตีว่า ผู้ให้บริการเหล่านั้น คือ สิ่งที่ดีที่สุด
หรือเหมาะสมที่สุด สำหรับเรา (ถ้าศึกษาเรื่อง AdWords มาก่อน จะทราบดีว่า คีย์เวิร์ด มีความสำคัญเพียงใด แต่ถ้าไม่รู้ ก็ใจเย็นๆ ต่อไปก็เข้าใจ)

สำหรับผลการค้นหาแบบปกติ จะมีเว็บไซต์ที่ใช้คีย์เวิร์ดนี้ อยู่ประมาณ 820,000 หน้าเว็บ
สามารถดูจำนวนหน้าเว็บที่เกี่ยวข้องได้จากเมนู Web แถบสีฟ้าอ่อน ของหน้าเว็บกูเกิ้ล
Results 1 - 10 of about 820,000 for เว็บไซต์สำเร็จรูป. (หมายถึง ผลการค้นหาอันดับที่ 1-10 จากผลการค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องด้วยคียเวิร์ด คำว่า เว็บไซต์สำเร็จรูป จำนวนทั้งหมด 820,000 หน้า)

ตัวอย่าง 20 อันดับแรก :
www.readyplanet.com
www.ebizzi.net
www.ready-website.com
www.powersite4you.com
www.meeweb.com
www.thaiwebwizard.com
www.igetweb.com
www.makewebez.com
www.thaireadyweb.com
www.smartproxp.com
www.netdesignsoft.com
www.001gb.com
www.spaziweb.com
www.is.in.th
www.chaiyoreadyweb.com
www.ninenic.com
www.thaimarketcenter.com
www.taradquickweb.com
www.asiawebwizard.com
www.thairedweb.com


จะเห็นว่า มีผู้ให้บริการจำนวนมากมาย ในการให้บริการทำเว็บไซต์สำเร็จรูป เพียงแค่ คีย์เวิร์ด เดียว เรายังได้ผลการค้นหามากมายขนาดนี้

คำถาม : แล้วจะเลือกใช้บริการของเจ้าไหนล่ะ
คำตอบ : อยู่ที่การตัดสินใจของเรา โดยคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆ เช่น ค่าบริการ พื้นที่เก็บข้อมูล ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการ ฯลฯ

ความหมายโดยทั่วๆไปของ เว็บไซต์สำเร็จรูป คือ เว็บไซต์ที่มีการบริการเว็บไซต์สำเร็จรูปหรือเว็บไซต์อัตโนมัติ ที่สร้างง่ายและรวดเร็ว เสร็จได้ทันใจ (ปัจจุบัน เริ่มมีโฆษณา เพียง 5 นาที ก็มีเว็บได้แล้ว) ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องคอมพิวเตอร์มากนักก็สามารถทำเว็บได้

ซึ่งการเลือกใช้บริการเว็บไซต์สำเร็จรูปแต่ละแห่ง จะมีรูปแบบหรือฟังก์ชันการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน แต่ละแห่งก็มีความยากง่ายหรือสลับซับซ้อนในการสร้างเว็บไซต์แตกต่างกันออกไป

สิ่งสำคัญที่ควรคำนึง คือ

1. รูปแบบเว็บไซต์ ทำได้ง่ายไม่สลับซับซ้อน การจัดการหลังบ้านง่าย (หลังบ้าน = ส่วนจัดการข้อมูลของเจ้าของเว็บไซต์) ผู้ใช้บริการควรศึกษาคุณลักษณะและเมนูการใช้งาน ของแต่ละผู้ให้บริการเว็บไซต์ก่อน ว่าเข้าใจมากน้อยเพียงใด เพราะหากเข้าใจทุกเมนู จะทำให้สร้างเว็บไซต์ได้ง่าย รวดเร็ว เพราะเข้าใจโครงสร้างของเว็บไซต์สำเร็จรูปนั้นๆ แล้ว

2. การเข้าถึงข้อมูลรวดเร็ว ตรงจุดนี้ ต้องแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
- ผู้ใช้งาน สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ของเราได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงเวลาใด (ผู้ให้บริการเว็บสำเร็จรูปบางราย จะมีผู้ใช้งานเยอะ ทำให้ในบางช่วงเวลา เว็บไซต์จะเข้าใช้งานไม่ได้ หรือที่เรียกว่า เว็บล่ม นั่นเอง)
- เจ้าของเว็บไซต์ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้เร็ว การใส่รูปภาพ ใส่ข้อมูล ทำได้เร็ว ไม่ติดขัด หรือหากติดขัด ก็สามารถแก้ไขได้ในเวลาอันรวดเร็ว

3.
รูปแบบ หน้าตาของเว็บไซต์สำเร็จรูป ต้องประยุกต์ได้ง่าย อาจจะไม่ได้เน้นความสวยงามมากเท่ากับเว็บไซต์ที่สั่งทำ แต่ก็ไม่ควรซ้ำ หรือไม่แข็งจนเกินไป

เท่านี้ ก็เพียงพอสำหรับการคัดเลือกใช้งานเว็บสำเร็จรูป แต่ก็มีส่วนเสริมที่มีความสำคัญรองมา เช่น ผู้ให้บริการเว็บไซต์สำเร็จรูปที่เราเลือกใช้นั้น มีระบบเว็บที่รองรับข้อมูลใ้ห้สอดคล้องกับเสิร์ชเอนจิ้นได้ดี
(SEO friendly) มีหรือไม่, ระบบ Shopping cart เป็นอย่างไร เสถียรหรือไม่ (บางรายจะพบว่า ระบบตระกร้า จะไม่ทำงานอยู่บ่อยครั้ง), ระบบแจ้งเตือน เมื่อมีการสั่งซื้อ หรือโอนเงิน เป็นอย่างไร ฯลฯ

ส่วนใหญ่ มักจะเลือกใช้ โดยการตัดสินใจดูจากหน้าตา คือ ดูแค่หน้าตา ทำเว็บออกมาแล้วสวย สวยไว้ก่อน โดยที่ไม่รู้ว่า "เบื้องหลังความสวยนั้น ซ่อนอะไรไว้บ้าง"

ดังนั้น การเลือกเว็บไซต์สำเร็จรูป จึงต้องมีการศึกษา หาข้อมูลกันหน่อย เพื่อว่าจะตอบสนองได้ตรงความต้องการ ตรงกับธุรกิจของเรา

สำหรับผู้ประกอบการใหม่ ที่จะก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์ ขอแนะนำว่า ให้ลองใช้บริการของเว็บไซต์สำเร็จรูป แบบฟรี ก่อน ไม่ต้องลงทุนจำนวนมาก เพราะจากงานวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซมีเพียง 10% เท่านั้น ที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจนี้ตอนเริ่มต้น และอีกกว่า 90% ที่ล้มเหลว เพราะคิดว่า การสร้างร้านค้าออนไลน์เป็นเรื่องง่ายๆ ทำเว็บแป๊บเดียวก็ขายได้แล้ว

หากกำลังมีความคิดเช่นนั้น โปรดถอยหลังกลับมาตั้งหลัก และศึกษาความรู้ด้านนี้ เพิ่มเติมอีกสักนิด แล้ว "ความสำเร็จออนไลน์" จะอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม






e-Commerce พลังแห่งอินเทอร์เนต

เป็นที่ทราบกันดีว่า "อินเทอร์เนต" ก่อให้เกิดสิ่งสร้างสรรค์หลายต่อหลายอย่าง ประวัติของอินเทอร์เนต เริ่มมาเกือบครึ่งศตวรรษ ขอให้ไปศึกษาเพิ่มเติมเองได้ ที่นี่ อินเทอร์เนตในยุคแรก ใช้เพื่อผลประโยชน์ทางการทหาร และด้วยประโยชน์อันมหาศาล จึงขยายวงความรู้และแพร่การใช้งานมาสู่ภาคประชาชน ซึ่งมีประโยชน์ต่อทุกวงการ รวมทั้งเป็นเครื่องมืออันสำคัญ ในการทำอีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) อีกด้วย

การทำการค้า (Commerce) ตั้งแต่ยุคดั้งเดิม มีการค้าขายแบบพบปะ มีหน้าร้าน เป็นที่แลกเปลี่ยนสินค้าต่างๆ ( เราจะแทนที่ด้วยคำว่า "การค้าแบบออฟไลน์" ในบทความนี้ )

ตัวย่อของ e- มีความหมายถึง electronic ซึ่งเมื่อรวมกับคำว่า Commerce เป็น e-Commerce จึงมีความหมายถึง "พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์" นั่นคือ การค้าขายผ่านออนไลน์ นั่นเอง


เมื่อคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เนต เข้ามามีบทบาทสำคัญในโลกยุคปัจจุบัน "การค้าแบบเดิม" จึงเปลี่ยนโฉมใหม่ เกิดเป็น "ร้านค้าออนไลน์" ที่สามารถทำธุรกิจการค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่จำเป็นต้องจ้างคนเฝ้าร้าน ไม่ต้องเสียที่เช่าที่ ไม่เสียค่าน้ำค่าไฟ นี่คือ ข้อได้เปรียบของอีคอมเมิร์ซ

ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นในปัจจุับันนี้ อินเทอร์เนตก้าวหน้าไปมาก ทำให้มีเทคโนโลยี เครื่องมือต่างๆ มารองรับการทำธุรกิจด้วยรูปแบบอีคอมเมิร์ซ และด้วยการสนับสนุนทางด้านไอทีอินฟราสตรัคเจอร์ (IT Infrastructure) เช่น ระบบเน็ตเวิร์ก ระบบสตอเรจ ระบบเซิร์ฟเวอร์และระบบดาต้าเบส การทำการค้าออนไลน์จึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป