Eurax

ศูนย์รวมความรู้ด้านอีคอมเมิร์ซ e-Commerce บอกเล่าเรื่องราวการทำอีคอมเมิร์ซ และการรวบรวมความรู้ ตัวอย่าง ของเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่ประสบความสำเร็จ ความรู้ สารพัดสารพัน เรื่องการค้าออนไลน์ เริ่มต้นตั้งแต่ศูนย์ สำหรับผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ ขอเพียงตั้งใจจริง ทุกสิ่งก็สำเร็จได้อย่างงดงาม

ข้อควรรู้การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

กองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการส่งเสริมและสนับสนุนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มและขยายช่องทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการ จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยยังไม่เป็น ที่แพร่หลายมากนัก สาเหตุหนึ่งเกิดจากการขาดความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบการ ทำให้ผู้บริโภคขาดความมั่นใจ เพราะไม่สามารถรู้หรือทราบได้ว่าผู้ประกอบการเป็นใคร อยู่ที่ไหน กรณีมีปัญหาหรือข้อพิพาทต่าง ๆ ไม่สามารถตรวจสอบการมีตัวตนของผู้ประกอบการได้


ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ความเชื่อถือและเชื่อมั่นดังกล่าว ถือเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การที่จะช่วยกระตุ้นให้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้รับความแพร่หลายในประเทศไทย เกิดการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น จะต้องมีการสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในการตัดสินใจทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ดังนั้น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงได้กำหนดให้ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในประเทศไทยต้องมาจดทะเบียนพาณิชย์ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบการมีตัวตนของผู้ประกอบการได้ว่า ผู้ประกอบการมีตัวตนจริงหรือไม่ เป็นใคร อยู่ที่ไหน ทำธุรกรรมอะไรบ้าง



ประโยชน์ของการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

1. สร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการในระดับหนึ่ง โดยกรมฯ จะจัดทำเลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (เครื่องหมาย Registered) จัดส่งให้แก่ผู้ประกอบการ (ส่งทางe-Mail ในรูปแบบ Source Code) เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปแสดงไว้บน Web Site หรือ Home Page เพื่อแสดงว่าได้จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว
เมื่อผู้บริโภค (ผู้ซื้อ) เห็นเครื่องหมาย Registered แล้ว จะเกิดความมั่นใจในการทำธุรกรรมเพิ่มมากขึ้นโดยเมื่อ click ที่เลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบจะเชื่อมโยงมายังฐานข้อมูลกรมฯ และแสดงข้อมูลทางทะเบียนของผู้ประกอบการเพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบสถานะและการมีตัวตนของผู้ประกอบการได้

2. กรมฯ จะนำรายชื่อเว็บไซต์ที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว ไปเผยแพร่ไว้บนเว็บไซต์ของกรมฯ ได้โฆษณาไปในตัว http://www.dbd.go.th/edirectory/ โดยจัดแบ่งหมวดหมู่แยกตามประเภทธุรกิจ (e-Directory) เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ของผู้ประกอบการอีกช่องทางหนึ่ง

3. ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่จดทะเบียนแล้ว สามารถยื่นขอใช้เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ (Trustmark) จากกรมฯ ได้ ซึ่ง เครื่องหมาย Trustmark นี้จะมีความน่าเชื่อถือสูงกว่าเครื่องหมาย Registered กล่าวคือ จะออกให้แก่เว็บไซต์ที่มีคุณสมบัติตามที่กรมฯ กำหนดเท่านั้น เพื่อเป็นการยกระดับผู้ประกอบการของไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ

4. การได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ เช่น การเข้าร่วมการอบรมสัมมนา การได้รับคำแนะนำ และการได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น




ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
คือ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งประกอบพาณิชยกิจในเชิงพาณิชย์อันเป็นอาชีพปกติ ดังนี้

(1) ซื้อขายสินค้าหรือบริการ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่ บุคคลที่มีเว็บไซต์เพื่อทำการซื้อขายสินค้าหรือบริการ

(2) บริการอินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider)

(3) ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting)

(4) บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Marketplace)





เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการจดทะเบียน

1. คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ และเอกสารแนบ สามารถ download แบบฟอร์มได้ที่
http://www.dbd.go.th/mainsite/index.php?id=733&L=1%27
http://www.dbd.go.th/mainsite/fileadmin/downloads/01_tp/form_tp.pdf

2. สำเนาบัตรประจำตัว
2.1 กรณีบุคคลธรรมดา ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
2.2 กรณีนิติบุคคล ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวผู้จัดการของห้างหุ้นส่วน หรือ
ของกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด (ไม่ต้องแนบหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล)

3. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

4. หนังสือชี้แจง (กรณียื่นล่าช้าหรือเกินกำหนด)






ค่าธรรมเนียม

จดทะเบียนพาณิชย์ (จดใหม่) 50 บาท
จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการ 20 บาท
จดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจ 20 บาท






สถานที่จดทะเบียน

(1) ผู้ประกอบการที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่นคำขอจดทะเบียนได้ ณ สำนักงานดังต่อไปนี้
โดยจะเลือกยื่นต่อสำนักงานใด ก็ได้

ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง (ชั้น 9 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ถ.สนามบินน้ำ) โทร. 0 2547 5153-5

สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1 อาคารธนาลงกรณ์ ทาวเวอร์ ชั้น 14 ถนนบรมราชชนนี แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กทม. 10700 โทร. 0 2446 8160-68
FAX. 0 2446 8169,0 2446 8191

สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 2 อาคารเลขที่ 78/13 ถนนพระราม 6 (สี่แยกประดิพัทธ์) เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0 2618 3340-41,45 FAX. 0 2618 3343-4

สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 3 อาคารปรีชาคอมเพล็ก(ซี 2) ชั้น 3 ถ.รัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 (เยื้อง สน.สุทธิสาร) โทร. 0 2276 7259-64 FAX. 0 2276 7263

สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 4 อาคารวรวิทย์ ชั้น 8 โซน A-B เลขที่ 222 ถ.สุรวงศ์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทร. 0 2234 2951-3 FAX. 0 2266 5852-3

สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 5 อาคารปรีชาคอมเพล็ก (ซี 2) ชั้น 4 ถ.รัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 (เยื้อง สน.สุทธิสาร) โทร. 0 2276 7255-7 FAX. 0 2276 7258,68

สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 6 อาคารโมเดอร์นฟอร์ม ชั้น 16 ถนนศรีนครินทร์ เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 โทร.0 2722 8366-7 FAX. 0 2722 8369

สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 7 (ถ.แจ้งวัฒนะ) โทร. 0 2


(2) ผู้ประกอบการที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่จังหวัดอื่น นอกจากกรุงเทพมหานคร ไม่ว่าจะตั้งอยู่อำเภอใด ให้ยื่นต่อสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนั้น ๆ เพียงแห่งเดียว



...

รับจ้างโพสต์...ธุรกิจรองรับอีคอมเมิร์ซ เพื่อก้าวสู่ความสำเร็จ




สำหรับท่านที่มีร้านค้า ที่ทำด้วยระบบเว็บไซต์สำเร็จรูป ไม่ว่าจะด้วยบริการของ
TARAD.com หรือ Weloveshopping.com

เมื่อท่านที่ทำการอัพข้อมูลรูปสินค้าขึ้นเว็บของท่านแล้ว
ร้านค้าเปิดสู่โลกออนไลน์ ลูกค้าก็เริ่มเข้ามาสู่เว็บของเรา
หลายๆ ท่านอาจจะได้รับการสอบถาม โทรถามจากลูกค้า หรืออาจจะ
เกิดการซื้อขายไปแล้ว ขอแสดงความยินดีด้วย

แต่สำหรับคนที่เว็บยังนิ่งๆ อยู่ ให้ลองสำรวจดูว่า เว็บไซต์ของเรา
มีอะไรบกพร่อง เช่น

- ใส่คียเวิร์ดที่ถูกต้องหรือยัง
- จัดสินค้าถูกตามหมวดหมู่หรือไม่
- ได้ทำการตลาดหรือยัง
- ประชาสัมพันธ์เว็บให้ทุกคนรู้จักหรือยัง

ในวันนี้ มีเทคนิคที่จะมาแนะนำทุกท่าน นั่นคืิิอ...
...เรื่อง การประชาสัมพันธ์ เว็บไซต์ ให้เป็นที่รู้จัก


สำหรับเรื่อง การทำเว็บให้คนรู้จัก มีหลายวิธีการ
สิ่งสำคัญเลยคือ ต้องทำให้เสิร์ซเอนจิ้น รู้จัก (SEO)

จากการที่เราใช้งานเว็บไซต์สำเร็จรูป ที่มีบริการใส่คียเวิร์ด
เพื่อทำเว็บให้ติดอันดับในกูเกิ้ล หากทุกท่านใส่คียเวิร์ดที่ตรง กับคำค้นหา
ผลที่เว็บเราจะขึ้นติดหน้าแรกกูเกิ้ล จะใช้เวลาประมาณ 3 เดือนเท่านั้น
(อันนี้ ประสบการณ์จริงค่ะ คนที่ทำแล้วได้ผลบอกมา)

หรือ สิ่งสำคัญเลย ให้ลองเอาข้อมูลเว็บเรา ไปโพสต์
ตามเว็บซื้อขายสินค้าต่างๆ ซึ่งเปิดให้บริการมากมาย

เมื่อเราโพสต์ข้อมูลทุกเว็บ ทุกวัน
กูเกิ้ลจะตามเก็บข้อมูลเหล่านั้น และบันทึกไว้
เมื่อมีการคลิกจากคนทั่วไป ทำให้อันดับหน้าเว็บของเรา
ขยับขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดเป็นธุรกิจรับจ้างโพสต์

สาเหตุที่เกิดธุรกิจนี้ขึ้น เพราะเมื่อเจ้าของกิจการ ได้เริ่มทำธุรกิจออนไลน์
เค้าอาจจะเป็นบุคคลที่ทำงานประจำอยู่ หรือมีออเดอร์สั่งมาจนผลิตสินค้าไม่ทัน
ทำให้เวลาที่จะต้องนำข้อมูลไปโพสต์ ไม่มีเวลา หรือต้องการเวลาพักผ่อน

ดังนั้น ธุรกิจการรับจ้างโพสต์ จึงเกิดขึ้น

มีเว็บนึง ที่อยากแนะนำให้ทุกท่านรู้จัก ซึ่งหลายๆ คนที่ใช้บริการแล้ว
พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ทำให้เว็บของเค้าติดอันดับเร็วมาก
เนื่องจากมีระบบการโพสต์ที่ช่วยทำให้กูเกิ้ลเสิร์ซเจอง่ายขึ้น

โพสต์ชัวร์ รับจ้างโพสต์

หากท่านใดสนใจ ลองติดต่อดู เพราะเค้ารับโพสต์สินค้าไม่ซ้ำกัน
อยากให้ทุกท่านได้รับเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการทำอีคอมเมิร์ซ
เพื่อให้ธุรกิจของทุกท่าน ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว

แต่หากท่านใด โพสต์เอง ทำเอง ก็ต้องอาศัยความอดทน
อย่าเบื่อ อย่าขี้เกียจ เพราะการเอาข้อมูลร้านของเรา
ไปโพสต์ตามเว็บต่างๆ เป็นอะไรที่เราต้องทำซ้ำๆ ทุกวัน

อย่าลืมว่า ในขณะที่เรากำลังโพสต์ ก็มีคนอื่น หรือคู่แข่งของร้านเีรา
ก็โพสต์ซ้ำรอยเราด้วย ดังนั้น เมื่อโพสต์แล้ว ไม่ใช่จบแล้วจบก้ัน
ต้องโพสต์ทุกวัน ทุกเว็บ โพสต์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

แล้วในวันนึง เราจะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ จากน้ำพักน้ำแรงที่เราลงไป

ขอให้่ทุกท่านพยายาม อย่าท้อถอย เพื่อความสำเร็จในวันข้างหน้า