Eurax

ศูนย์รวมความรู้ด้านอีคอมเมิร์ซ e-Commerce บอกเล่าเรื่องราวการทำอีคอมเมิร์ซ และการรวบรวมความรู้ ตัวอย่าง ของเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่ประสบความสำเร็จ ความรู้ สารพัดสารพัน เรื่องการค้าออนไลน์ เริ่มต้นตั้งแต่ศูนย์ สำหรับผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ ขอเพียงตั้งใจจริง ทุกสิ่งก็สำเร็จได้อย่างงดงาม

โฮส - - - เว็บ - - - โดเมน

ที่ดิน --- บ้าน --- เลขที่บ้าน


สามคำ ดังกล่าวเป็นการเปรียบเทียบตัวอย่างแบบง่าย และเห็นภาพมากที่สุด
เมื่อเรามี "ที่ดิน" ผืนนึง เราบรรจงสร้าง "บ้าน" ให้ออกมาอย่างสวยงาม และเมื่อบ้านสร้างเสร็จ
เราก็ต้องไปขอเลขที่บ้าน สามสิ่งนี้ คือ หัวใจสำคัญ สำหรับผู้ที่ต้องการจะมีเว็บไซต์ เช่นกัน

เพราะการจะมีเว็บไซต์นั้น จะประกอบด้วยองค์ประกอบอย่างน้อย 3 ประการ คือ
- พื้นที่เก็บข้อมูลสำหรับทำเว็บไซต์ (พื้นที่ ในฮาร์ดดิสก์ของเครื่องแม่ข่ายของผู้ให้บริการการทำเว็บ เครื่องแม่ข่ายที่ว่าเรียกว่า “โฮสต์” (Host), ผู้ให้บริการ เรียกว่า “เว็บโฮสติ้ง” (Web hosting)
- เว็บไซต์ (Website) จากผู้บริการเว็บฟรี เว็บสำเร็จรูป หรือจ้างเขียนเว็บไซต์ ก็ตาม
- ชื่อโดเมน เช่น www.sumapi.com (สามารถเรียนรู้ หลักการตั้งชื่อโดเมนเนม ที่นี่)


พื้นที่ (Host) = ที่ดิน
เว็บไซต์ (Website) = ตัวบ้าน
โดเมน (Domain) = บ้านเลขที่


เมื่อทราบถึงความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันดังกล่าวแล้ว จะมองเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นในการเริ่มต้นการค้าออนไลน์ เพราะส่วนสำคัญ 3 ส่วน จะต้องมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เช่น ถ้าเราใช้ที่ดินฟรี เราสร้างบ้าน เราขยายบ้านจนใหญ่เต็มที่ดิน เจ้าของที่อาจไล่เราออกจากที่ดิน หรือวันใดวันหนึ่ง เจ้าของที่ดิน อาจจะมาไล่ที่เราก็ได้ ถ้าเค้าต้องการนำที่ดินไปทำประโยชน์อย่างอื่น, ถ้าเรามีบ้าน แต่ไม่ไปขอเลขที่บ้าน แต่ใช้เลขที่บ้านรวม ก็อาจจะมีคนส่ง จม. มาผิดบ้าน ก็เป็นได้

ถ้าเราไม่มีอะไรเป็นของตัวเองเลย บ้านก็ต้องเช่า ที่ดินก็อาศัยเค้าอยู่ และบ้านเลขที่รวม ก็เหมือนยืนอยู่บนเลน ไม่มั่นคง ไม่มีหลักมีฐาน เหมือนประกอบกิจการเถื่อน ซึ่งไม่ดีแน่ สำหรับผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ

ดังนั้น อย่างน้อย เราควรไปยื่นขอบ้านเลขที่ก็ยังดี ซึ่งก็คือ มีโดเมนเนม เป็นของตัวเอง (อันนี้ แนะนำว่า ถ้าเริ่มสร้างกิจการอีคอมเมิร์ซ แค่เพียงมีชื่อโดเมนไว้ก่อน ก็ทำให้เราดูดีมาระดับหนึ่ง)

การจดทะเบียนโดเมนเนม มีขั้นตอนง่ายๆ แต่จะอธิบายความเป็นมาของเจ้าของ ผู้อนุญาตให้เราได้ใช้โดเมนเนมก่อน เพราะโดเมนเนมแต่ละชื่อนั้น จะไม่สามารถตั้งซ้ำ หรือเหมือนกันได้ องค์กรผู้ดูแลจัดระเบียบโดเมน คือ ICANN : Internet Corporation for Assigned Names and Numbers

ICANN แจกจ่ายให้ตัวแทน มีสิทธิในการนำโดเมนเนมไปขายต่อ โดยเชื่อมฐานข้อมูลเดียวกัน ดังนั้น โดเมนเนมของทุกประเทศในโลก จึงมาจากที่เดียวกัน สำหรับประเทศไทย อาจจะมีค่าบริการจดโดเมนเนม อยู่ระหว่าง 300-500 บาท ต่อ 1 ชื่อ ต่อ 1 ปี (จ่ายเงินกันปีต่อปี หรือเลือกที่จะจ่ายเป็นช่วงยาวก็ได้) ราคาที่แตกต่างกัน แล้วแต่ผู้ประกอบการตั้งราคา แต่หากซื้อโดเมนเนมจากต่างประเทศ จะพบว่ามีราคาถูกมาก อยู่แค่ประมาณไม่เกิน 10$

ผู้ขายโดเมนเนมรายยักษ์ใหญ่ของโลก ได้แก่ Godaddy ที่มักจะมีโปรโมชั่นดีๆ มาเสนอเราเสมอ แต่ถ้าใครไม่คล่องภาษา ก็ซื้อโดเมนเนม กับผู้ให้บริการในไทยก็ได้ ราคาต่างกันไม่เท่าไรนัก

สำหรับเรืื่อง "บ้าน" ได้คุยไว้แล้ว ใน บทความนี้

ส่วนเรื่องความรู้เกี่ยวกับโดเมนเนม ศึกษาได้ใน บทความนี้





เริ่มต้นกับร้านค้าออนไลน์ ด้วยเว็บสำเร็จรูป

สมัยก่อน การมีเว็บไซต์สักหนึ่งเว็บไซต์ เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณากันอย่างถี่ถ้วน เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการจัดทำสูงมาก เป็นหลักแสน หรือหลักล้าน ...แต่เทียบกับปัจจุบัน ที่มีผู้ให้บริการมากมาย ที่บริการจัดทำเว็บไซต์ในราคาแสนถูก หรือผู้บริการเว็บไซต์สำเร็จรูปหลากหลายยี่ห้อ (สามารถค้นหาใน Google ด้วยคีย์เวิร์ด คำว่า "เว็บสำเร็จรูป,เว็บไซต์สำเร็จรูป,ร้านค้าออนไลน์") ซึ่งผู้ใช้สามารถเปิดใช้งานได้ทันที และบางแห่งก็ให้บริการ ฟรี อีกด้วย

ถ้าลองค้นหา ด้วยคำว่า "
เว็บไซต์สำเร็จรูป" จากหน้าเว็บไซต์ www.google.co.th
จะพบว่า มีผลการค้นหาแสดงออกมาเป็นสองส่วน คือ ผลการค้นหาแบบปกติ และผลการค้นหาที่เป็น AdWords (ความรู้เรื่อง การลงโฆษณาแบบ AdWords นี้ สามารถค้นหาเพิ่มเติม ที่นี่)

ในส่วนการค้นหาที่เป็น AdWords มีคนที่ใช้คีย์เวิร์ดนี้ ในการทำโฆษณาอยู่ 4 ราย ได้แก่
http://www.readyplanet.com
http://www.igetweb.com
http://www.chaiyoreadyweb.com
http://www.makewebeasy.com

ซึ่งถ้าท่านใดสะดวกที่จะเลือกคลิกเลือกที่จุดนี้ ก็จะง่าย และได้ผลค้นหาตรงกับความต้องการ
แต่เมื่อเข้าไปในแต่ละเว็บไซต์นั้นๆ แล้ว ก็ไม่ได้การันตีว่า ผู้ให้บริการเหล่านั้น คือ สิ่งที่ดีที่สุด
หรือเหมาะสมที่สุด สำหรับเรา (ถ้าศึกษาเรื่อง AdWords มาก่อน จะทราบดีว่า คีย์เวิร์ด มีความสำคัญเพียงใด แต่ถ้าไม่รู้ ก็ใจเย็นๆ ต่อไปก็เข้าใจ)

สำหรับผลการค้นหาแบบปกติ จะมีเว็บไซต์ที่ใช้คีย์เวิร์ดนี้ อยู่ประมาณ 820,000 หน้าเว็บ
สามารถดูจำนวนหน้าเว็บที่เกี่ยวข้องได้จากเมนู Web แถบสีฟ้าอ่อน ของหน้าเว็บกูเกิ้ล
Results 1 - 10 of about 820,000 for เว็บไซต์สำเร็จรูป. (หมายถึง ผลการค้นหาอันดับที่ 1-10 จากผลการค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องด้วยคียเวิร์ด คำว่า เว็บไซต์สำเร็จรูป จำนวนทั้งหมด 820,000 หน้า)

ตัวอย่าง 20 อันดับแรก :
www.readyplanet.com
www.ebizzi.net
www.ready-website.com
www.powersite4you.com
www.meeweb.com
www.thaiwebwizard.com
www.igetweb.com
www.makewebez.com
www.thaireadyweb.com
www.smartproxp.com
www.netdesignsoft.com
www.001gb.com
www.spaziweb.com
www.is.in.th
www.chaiyoreadyweb.com
www.ninenic.com
www.thaimarketcenter.com
www.taradquickweb.com
www.asiawebwizard.com
www.thairedweb.com


จะเห็นว่า มีผู้ให้บริการจำนวนมากมาย ในการให้บริการทำเว็บไซต์สำเร็จรูป เพียงแค่ คีย์เวิร์ด เดียว เรายังได้ผลการค้นหามากมายขนาดนี้

คำถาม : แล้วจะเลือกใช้บริการของเจ้าไหนล่ะ
คำตอบ : อยู่ที่การตัดสินใจของเรา โดยคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆ เช่น ค่าบริการ พื้นที่เก็บข้อมูล ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการ ฯลฯ

ความหมายโดยทั่วๆไปของ เว็บไซต์สำเร็จรูป คือ เว็บไซต์ที่มีการบริการเว็บไซต์สำเร็จรูปหรือเว็บไซต์อัตโนมัติ ที่สร้างง่ายและรวดเร็ว เสร็จได้ทันใจ (ปัจจุบัน เริ่มมีโฆษณา เพียง 5 นาที ก็มีเว็บได้แล้ว) ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องคอมพิวเตอร์มากนักก็สามารถทำเว็บได้

ซึ่งการเลือกใช้บริการเว็บไซต์สำเร็จรูปแต่ละแห่ง จะมีรูปแบบหรือฟังก์ชันการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน แต่ละแห่งก็มีความยากง่ายหรือสลับซับซ้อนในการสร้างเว็บไซต์แตกต่างกันออกไป

สิ่งสำคัญที่ควรคำนึง คือ

1. รูปแบบเว็บไซต์ ทำได้ง่ายไม่สลับซับซ้อน การจัดการหลังบ้านง่าย (หลังบ้าน = ส่วนจัดการข้อมูลของเจ้าของเว็บไซต์) ผู้ใช้บริการควรศึกษาคุณลักษณะและเมนูการใช้งาน ของแต่ละผู้ให้บริการเว็บไซต์ก่อน ว่าเข้าใจมากน้อยเพียงใด เพราะหากเข้าใจทุกเมนู จะทำให้สร้างเว็บไซต์ได้ง่าย รวดเร็ว เพราะเข้าใจโครงสร้างของเว็บไซต์สำเร็จรูปนั้นๆ แล้ว

2. การเข้าถึงข้อมูลรวดเร็ว ตรงจุดนี้ ต้องแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
- ผู้ใช้งาน สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ของเราได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงเวลาใด (ผู้ให้บริการเว็บสำเร็จรูปบางราย จะมีผู้ใช้งานเยอะ ทำให้ในบางช่วงเวลา เว็บไซต์จะเข้าใช้งานไม่ได้ หรือที่เรียกว่า เว็บล่ม นั่นเอง)
- เจ้าของเว็บไซต์ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้เร็ว การใส่รูปภาพ ใส่ข้อมูล ทำได้เร็ว ไม่ติดขัด หรือหากติดขัด ก็สามารถแก้ไขได้ในเวลาอันรวดเร็ว

3.
รูปแบบ หน้าตาของเว็บไซต์สำเร็จรูป ต้องประยุกต์ได้ง่าย อาจจะไม่ได้เน้นความสวยงามมากเท่ากับเว็บไซต์ที่สั่งทำ แต่ก็ไม่ควรซ้ำ หรือไม่แข็งจนเกินไป

เท่านี้ ก็เพียงพอสำหรับการคัดเลือกใช้งานเว็บสำเร็จรูป แต่ก็มีส่วนเสริมที่มีความสำคัญรองมา เช่น ผู้ให้บริการเว็บไซต์สำเร็จรูปที่เราเลือกใช้นั้น มีระบบเว็บที่รองรับข้อมูลใ้ห้สอดคล้องกับเสิร์ชเอนจิ้นได้ดี
(SEO friendly) มีหรือไม่, ระบบ Shopping cart เป็นอย่างไร เสถียรหรือไม่ (บางรายจะพบว่า ระบบตระกร้า จะไม่ทำงานอยู่บ่อยครั้ง), ระบบแจ้งเตือน เมื่อมีการสั่งซื้อ หรือโอนเงิน เป็นอย่างไร ฯลฯ

ส่วนใหญ่ มักจะเลือกใช้ โดยการตัดสินใจดูจากหน้าตา คือ ดูแค่หน้าตา ทำเว็บออกมาแล้วสวย สวยไว้ก่อน โดยที่ไม่รู้ว่า "เบื้องหลังความสวยนั้น ซ่อนอะไรไว้บ้าง"

ดังนั้น การเลือกเว็บไซต์สำเร็จรูป จึงต้องมีการศึกษา หาข้อมูลกันหน่อย เพื่อว่าจะตอบสนองได้ตรงความต้องการ ตรงกับธุรกิจของเรา

สำหรับผู้ประกอบการใหม่ ที่จะก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์ ขอแนะนำว่า ให้ลองใช้บริการของเว็บไซต์สำเร็จรูป แบบฟรี ก่อน ไม่ต้องลงทุนจำนวนมาก เพราะจากงานวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซมีเพียง 10% เท่านั้น ที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจนี้ตอนเริ่มต้น และอีกกว่า 90% ที่ล้มเหลว เพราะคิดว่า การสร้างร้านค้าออนไลน์เป็นเรื่องง่ายๆ ทำเว็บแป๊บเดียวก็ขายได้แล้ว

หากกำลังมีความคิดเช่นนั้น โปรดถอยหลังกลับมาตั้งหลัก และศึกษาความรู้ด้านนี้ เพิ่มเติมอีกสักนิด แล้ว "ความสำเร็จออนไลน์" จะอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม






e-Commerce พลังแห่งอินเทอร์เนต

เป็นที่ทราบกันดีว่า "อินเทอร์เนต" ก่อให้เกิดสิ่งสร้างสรรค์หลายต่อหลายอย่าง ประวัติของอินเทอร์เนต เริ่มมาเกือบครึ่งศตวรรษ ขอให้ไปศึกษาเพิ่มเติมเองได้ ที่นี่ อินเทอร์เนตในยุคแรก ใช้เพื่อผลประโยชน์ทางการทหาร และด้วยประโยชน์อันมหาศาล จึงขยายวงความรู้และแพร่การใช้งานมาสู่ภาคประชาชน ซึ่งมีประโยชน์ต่อทุกวงการ รวมทั้งเป็นเครื่องมืออันสำคัญ ในการทำอีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) อีกด้วย

การทำการค้า (Commerce) ตั้งแต่ยุคดั้งเดิม มีการค้าขายแบบพบปะ มีหน้าร้าน เป็นที่แลกเปลี่ยนสินค้าต่างๆ ( เราจะแทนที่ด้วยคำว่า "การค้าแบบออฟไลน์" ในบทความนี้ )

ตัวย่อของ e- มีความหมายถึง electronic ซึ่งเมื่อรวมกับคำว่า Commerce เป็น e-Commerce จึงมีความหมายถึง "พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์" นั่นคือ การค้าขายผ่านออนไลน์ นั่นเอง


เมื่อคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เนต เข้ามามีบทบาทสำคัญในโลกยุคปัจจุบัน "การค้าแบบเดิม" จึงเปลี่ยนโฉมใหม่ เกิดเป็น "ร้านค้าออนไลน์" ที่สามารถทำธุรกิจการค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่จำเป็นต้องจ้างคนเฝ้าร้าน ไม่ต้องเสียที่เช่าที่ ไม่เสียค่าน้ำค่าไฟ นี่คือ ข้อได้เปรียบของอีคอมเมิร์ซ

ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นในปัจจุับันนี้ อินเทอร์เนตก้าวหน้าไปมาก ทำให้มีเทคโนโลยี เครื่องมือต่างๆ มารองรับการทำธุรกิจด้วยรูปแบบอีคอมเมิร์ซ และด้วยการสนับสนุนทางด้านไอทีอินฟราสตรัคเจอร์ (IT Infrastructure) เช่น ระบบเน็ตเวิร์ก ระบบสตอเรจ ระบบเซิร์ฟเวอร์และระบบดาต้าเบส การทำการค้าออนไลน์จึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป